จุดประสงค์ของการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน:

  1. การซื้อ-ขาย (Buy – Sale)

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ก็เหมือนกับการขายสินค้าทั่วไป ซึ่งผู้ซื้อในทุกช่วงเวลาจะต้องการซื้อในราคาที่ถูกที่สุด
ส่วนผู้ขายก็อยากจะขายในราคาที่สูงที่สุด เป็นเหตุให้ต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือนักประเมินราคานั่นเอง ซึ่งผู้ประเมินจะไม่มีส่วนได้เสียกับทั้งสองฝ่าย โดยเสนอราคาที่ยุติธรรมและแสดงความเห็นของมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงซื้อขายทรัพย์สินกันได้

  1. การเวนคืน (Compensation)

เมื่อภาครัฐมีการดำเนินโครงการต่าง ๆ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน รัฐจะต้องมีการเวนคืนที่ดินทั้งหมด บางครั้งการกำหนดราคาของทางภาครัฐอาจมีการกำหนดราคาที่ต่ำกว่าตลาด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จึงต้องมีนักประเมินราคาเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ราคาของการเวนคืนของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ นั้นมีความเป็นธรรมในระดับหนึ่ง เช่น การสร้างทางใหม่ การขยายเส้นทาง หรือการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ.

  1. การค้ำประกัน (Mortgage) หรือ การกู้เงิน

เพื่อเป็นการปฏิบัตินโยบายการหันดินเป็นทุนของรัฐบาล เมื่อผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือหลักทรัพย์ต้องการนำหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ของตนไปหาสถาบันการเงินเพื่อหาที่มาของทุนเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ นักประเมินราคาจะมีส่วนช่วยให้มูลค่าของทรัพย์สินใดๆ นั้นถูกต้องและใกล้เคียง เพราะว่าโดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินมักจะมีการกำหนดบรรทัดฐานในการปล่อยสินเชื่อที่แตกต่างกันไป.

  1. การตั้งราคาค่าเช่า (Lease)

การกำหนดค่าเช่าทรัพย์สินประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป, ห้องแถว, อพาร์ตเมนต์, คอนโดมิเนียม และอาคารประเภทต่างๆ นั้น ปัจจัยค่าเช่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง, การคมนาคม, ความสะดวกสบาย, การบริการสาธารณะต่างๆ นักประเมินราคาจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านี้ เพื่อเสนอให้เจ้าของทรัพย์สินรู้ระดับของผลตอบแทนที่ตนเองควรจะได้ เพื่อมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าเช่าทรัพย์สินของตนเอง.

  1. การประกันภัย (Insurance)

ตามหลักการประกันภัย สิ่งที่สามารถประกันเต็มมูลค่าคือทรัพย์สินที่ไม่ต่ำหรือสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง หากทำประกันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เจ้าของทรัพย์สินจะได้รับผลประโยชน์น้อยลงตามสัดส่วนของมูลค่าที่ประกันไว้กับมูลค่าที่แท้จริง หรือหากทำประกันสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง เจ้าของทรัพย์สินก็จะสูญเสียค่าเบี้ยประกันโดยไม่เกิดประโยชน์ในกรณีเกิดเหตุการณ์ใดๆ ดังนั้น นักประเมินราคาที่เป็นมืออาชีพจึงช่วยในการวิเคราะห์มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินตามจุดประสงค์.

  1. การร่วมมือ (Cooperation)

ในกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งต้องการร่วมลงทุนกับบริษัทอื่น สิ่งสำคัญก็คือการรู้สัดส่วนของการลงทุนทั้งหมดของบริษัทนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งต้องนำผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือผู้ประเมินราคามาช่วยเพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เสียก่อน แล้วนำมูลค่าที่ได้มานั้นมาคำนวณสัดส่วนของการถือหุ้น.

  1. จุดประสงค์ของรัฐ (Goverment purpose)

เพื่อให้เกิดเป็นหลักการที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อเขาต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนย้ายสิทธิในทรัพย์สินของตน แล้วเพื่อเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ทางภาครัฐมีรายรับจากบัญดากิจกรรมต่างๆ รัฐก็ต้องมีการกำหนดรูปแบบ วิธีการ ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีลักษณะโปร่งใส ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้าใจได้ถึงวิธีการต่างๆ อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความกดดันให้กับพนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินราคา.

  1. จุดประสงค์อื่นๆ

นอกจากจุดประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น งานการประเมินราคายังมีความสำคัญและจำเป็นต่อหลายๆ งานอีกเช่น: การประเมินทรัพย์สินเพื่อนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์, การเก็บภาษี, ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและตัดสินใจได้.